วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


asean-symbol

สัญลักษณ์อาเซียน

                 รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์
สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง
           อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ คือ
1.การเมืองความมั่นคง
2.เศรษฐกิจ (AEC)
3.สังคมและวัฒนธรรม
            ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีพัฒนาการไปด้วยกัน โดยเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงแต่ AEC ซึ่งก็คือด้านเศรษฐกิจหรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คงเป็นเพราะว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดูจะจับต้องได้มากกว่าเรื่องอื่นๆ  อีกทั้งในการขับเคลื่อนส่วนใหญ่แล้วที่มักจะก้าวไปเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ก็คือภาคธุรกิจ ดังนั้น คนอาจจะรับรู้เรื่อง AEC มากกว่ามิติความร่วมมืออื่นๆ ของอาเซียน
            อย่างไรก็ดี ความร่วมมือทั้ง 3 เสาหลักของอาเซียนก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น เพราะการสร้างประชาคมอาเซียนย่อมหมายถึงการร่วมมือและหลอมรวมกันในทุกมิติ และแต่ละมิติก็ล้วนมีความสำคัญและส่งเสริมซึ่งกันและกัน เราคงไม่อาจผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้หากปราศจากความมั่นคงทางการเมือง หรือความเข้าใจกันของคนในอาเซียน
            ขณะนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เรื่องการเปิดเสรีแรงงานในอาเซียนจะทาได้อย่างอิสระ ประเภทว่าข้ามฝั่งโขงไปก็หางานทำได้เลย ข้อเท็จจริง ไม่ได้เป็นถึงขนาดนั้น เพราะการเปิดเสรีด้านแรงงานที่อาเซียนได้เจรจากันครอบคลุมเฉพาะในส่วนของแรงงานมีฝีมือ ขณะนี้อาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัติวิชาชีพเพียง 7 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก และชำงสำรวจ แต่การที่แรงงานมีฝีมือใน 7 สาขาดังว่าจะเข้ามาทำงานในประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ จะต้องทาตามขั้นตอนและกฎระเบียบภายในประเทศต่างๆ อยู่ดี เช่น ถ้าจะมาทำงานในไทยก็ต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพหรือผ่านขั้นตอนการประเมินตามเงื่อนไขภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเสียก่อน
            อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแรงงานไร้ฝีมือไม่อยู่ในขอบเขตของการเปิดเสรีด้านบริการอาเซียน ดังนั้นการเปิดเสรีเป็นคนละส่วนกับปัญหาแรงงานต่างด้าวทั่วไป รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งในส่วนนั้น ประเทศไทยได้ร่วมมือกับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาและจัดระเบียบ
           เมื่อไม่นานมานี้มีการสอบถามความตระหนักรู้ของประชาชนใน 10 ประเทศสมาชิกเกี่ยวกับอาเซียน ปรากฏว่า ไทยอยู่ในอันดับท้ายๆ ขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (CLMV) อย่าง ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม กลับรู้จักและเห็นความสำคัญของอาเซียนมากกว่า เพราะเขาติดตามข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทย ซื้อสินค้าไทย ดูละครไทย และเรียนรู้ภาษาไทยกันมากขึ้น คนไทยเป็นคนเก่ง มีจุดแข็งและมีความโดดเด่นหลายด้าน และไม่ได้ด้อยเรื่องความรู้ความสามารถ แต่ยังมีจุดอ่อนอันดับแรกในเรื่องของภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการของอาเซียน ซึ่งต้องพัฒนาอีกมาก
           นอกจากนี้ เราต้องหันมาให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกันเองมากขึ้น ว่าตอนนี้เขาทำอะไรกัน มีพัฒนาการในเรื่องใด มีความแข็งแกร่งและมีจุดอ่อนในเรื่องไหน เพราะเมื่อรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 ประเทศในอาเซียนจะมีการติดต่อกันมากขึ้น
           ขณะที่องค์กรต่างๆในไทย ก็ต้องพัฒนาความรู้และติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนในสาขาที่เกี่ยวกับตนเอง เพื่อให้สามารถรับมือกับคู่แข่งจากอีก 9 ประเทศให้ได้ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนไทยและประเทศไทยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงอยากให้มองว่าปี 2558 ที่อาเซียนจะก้าวสู่การเป็นประชาคม ไม่ได้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของอาเซียน แต่เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของอาเซียน และเราจำเป็นต้องเสริมสร้างการรวมตัวในเสาหลักทั้ง 3 เสาอย่างต่อเนื่องต่อไป

           อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

โดย อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ

1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
3.มาเลเซีย  โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ)

         ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ  8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538  เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ


คำขวัญอาเซียน 


หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)




          อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ


 รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 



บรูไน

1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 



          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ



      



กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)



          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้



      



อินโดนีเซีย

3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)



          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ



         



ลาว

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)



          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 



       



มาเลเซีย

5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)



          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ





ฟิลิปปินส์

6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)



          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ



        



สิงคโปร์

7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)



          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)



         



ประเทศไทย

8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)



          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ





เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)



          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 



         



ประเทศพม่า

10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)



          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 


เพลงอาเซียน







เพลงอาเซียน(เนื้อร้องไทย)


 





  ที่มา :  http://www.thai-aec.com/418
                        http://hilight.kapook.com/view/67028

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้าวแตน


          ข้าวแต๋น เป็นข้าวเหนียวขาว  และข้าวเหนียวดำทอดกรอบ 
ราดด้วยน้ำอ้อยเป็นขนมโบราณของคนเมือง (คนภาคเหนือที่พูดภาษาเหนือ)  ทำเพื่อเลี้ยงแขกในงานมงคลต่าง ๆ ... เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ ... งานแต่งงาน  ข้าวแต๋นถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอีกประเภทหนึ่งเนื่องจาก นำข้าวที่เหลือจากการบริโภคประจำวัน นำมาขึ้นรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม  สี่เหลี่ยม แล้วตากแดด เก็บรักษาไว้ได้นาน  เมื่อต้องการรับประทานก็นำมาทอดให้สุกแล้วราดด้วยน้ำอ้อยอีกครั้งหนึ่ง

          ข้าวแต๋นเหมาะเป็นของฝากจากลำปาง  เนื่องจากจังหวัดลำปางเป็นจังหวัดที่มีการปลูกอ้อยมาก หน่วยงานรัฐจึงมาตั้งโรงงานน้ำตาลลำปางที่อำเภอเกาะคา  เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี 2480  ผลผลิตจากอ้อยได้แก่น้ำอ้อยหรือน้ำตาลแดงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำขนมข้าวแต๋นส่วนข้าวเหนียว เป็นข้าวที่จังหวัดลำปางปลูก และรับประทานทุกวันอยู่แล้วดังนั้นข้าวแต๋น ที่มีส่วนประกอบที่สำคัญเป็นข้าวและน้ำอ้อย  จึงเหมาะที่จะผลิตในจังหวัดลำปาง ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับประชากรวัยแรงงานของตำบลนาแก้วยังว่างงานอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้รวม
กลุ่มกันก่อตั้งจัดตั้ง กลุ่มข้าวแต๋นทวีพรรณ เมื่อ  16 พฤษภาคม  2537 

ส่วนผสม

 ข้าวสารเหนียว   5 ลิตร
-แตงโม               1 ผล
-งาขาว                1 ขีด
-เกลือป่น            1 ช้อนโต๊ะ
-น้ำตาลปี๊บ         1 ถุง
-น้ำอ้อยผง          2 ขีด
-น้ำมันพืช           ขวด
อุปกรณ์ แบบพิมพ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว สูง 1 เซนติเมตร


1.นำ แตงโม 1 ลูก มาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมน้ำเปล่าให้ได้ 4 แก้ว ใส่เกลือ น้ำอ้อยผง งาขาว(ถ้ามี) คนให้เข้ากัน เก็บใส่ภาชนะไว้ (ควรทำก่อนนี่งข้าว)  หมายเหตุ ถ้าไม่มีแตงโม อาจเป็นน้ำผลไม้ชนิดอื่นก็ได้   เช่น มะม่วง หรือผลไม้ตามฤดูกาล


2.นำข้าวสาร(ข้าวเหนียว) มาแช่น้ำ 1 คืน นึ่งให้สุก พักไว้ให้เย็น แล้วนำมาคลุกกับ น้ำแตงโมที่เตรียมไว้แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที


3.น้ำไปกดลงในพิมพ์ ไห้แน่นพอสมควร


4.นำข้าวออกจากพิมพ์ วางบนตะแกรง แล้วนำไปตากแดด ประมาณ 1 วันครึ่ง เมื่อแห้งแล้ว เก็บใส่ถึง มัดปากถุงให้แน่น


5.ใส่น้ำมันให้เต็มกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนจัด เอาข้าวที่จากแห้งแล้วลงทอด ประมาณ 40 วินาที ข้าวแต๋นจะลอยชึ้น ให้ตัดออก นำมาวางบนตะแกรง เพื่อสะเด็ดน้ำมัน และพักไว้ให้เย็น



6.นำน้ำตาลปี๊บ เคียวไฟให้ตกทราย พักไว้ให้เย็นพอประมาณ แล้วนำมาหยดลงบนข้าว



7.ใช้ถุงพลาสติกสำหรับใส่อาหาร ขนาดที่ต้องการบรรจุขาย ถ้าจะให้ดี ปิดปากถุงให้มิดชิด กันลมเข้า วิธีง่ายๆ ไล่ลมออกจากถุง แล้วใช้เครื่องรีดปากถุง


ที่มา  :  http://ampornricetan-wanutpong.blogspot.com/p/blog-page.html
            http://khaotan.com/Wed%20Page/History.html



แคบหมูไร้มัน


แคบหมู คือ หนังหมูหรือหนังหมูติดมันทอดให้พองและกรอบ เป็นอาหารที่ปรากฏในทุกภูมิภาคของโลก ในภาษาอังกฤษเรียก pork snack, pork rind, pork scratching หรือ pork crackling
ในประเทศไทย แคบหมูมักใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงอาหารอื่น ๆ เช่น น้ำพริก ก๋วยเตี๋ยว น้ำเงี้ยว ฯลฯ หรือเป็นส่วนผสมประกอบอาหารอื่น ๆ เช่น พวกน้ำพริกหรือแกง ถ้าใช้หนังสัตว์อื่น จะเปลี่ยนไปเรียกชื่อตามสัตว์นั้น ๆ เช่น แคบควาย ทำจากหนังกระบือ แต่ถ้าทำจากหนังโค จะเรียก หนังพอง

วิธีทำแคบหมูไร้มัน


1.เตรียมหนังหมูส่วนท้อง (เป็นส่วนที่ ทอดขึ้นฟูได้ดี) เอา มาแล่มันออกให้หมด แล้วเอามาต้มกับน้ำ เติมเกลือป่น ประมาณน้ำ 1ลิตร ต่อเกลือ 3-4 ชต. จากนั้นำหนังหมูไปต้ม ราว20นาที เอาขึ้น

2.ทิ้งให้เย็นก่อน จากนั้นเอาหนังหมูมาหั่น ขนาดราว 1ซม. x5ซม.  (หากต้องการตามรูป) อาจหั่นให้ใหญ่กว่านี้ได้

3.จากนั้นเอาไปทำ หนังหมูที่ต้มแล้วให้แห้งสนิทด้วยสองวิธีลองเลือกดูครับ คือ
3.1 เอาไปตากแดด ถ้าแรงๆก็1วันจะแห้งเป็นเงาใสๆดังภาพ แต่ถ้ายังไม่แห้งสีจะออก ขาวขุ่นให้ตากต่ออีกวันจนลักษณะ หนังหมู เป็นเงาใส อย่างในภาพ
3.2 ถ้า ใจร้อน ก็เอาไปเข้าเตาอบเสียเลยความร้อนสัก180-200 อบนาน10นาทีหรือ สังเกตดูว่าแห้งใสๆ ดั่งในภาพ ก็ใช้ได้

4เอากระทะก้นลึกใส่น้ำมันปาล์ม ท่วมๆเน้นว่าน้ำมันต้องเยอะหน่อย อย่าห่วง ถ้าน้ำมันมีน้อยทอดที่ละน้อยๆได้ ส่วนไฟให้ใช้ แรงปานกลาง จากนั้นเอาลงทอดน้ำมัน ใช้ตะหลิวกดๆคนๆ ให้หนังหมูโดนน้ำมันทั่วๆ หนังหมูจะพองเป็นแคบ ออกมาสวย แบบนี้ ระวังไหม้ เพราะแคบสุกเหลืองเร็ว

5.เสร็จแล้วหน้าตาแบบนี้ อร่อบอร่อย ทานกับน้ำพริกเผาได้ เลย…  หากอยู่แดนไกล แนะนำอย่าทอดหมด ทอดแค่พอทานครับ จากนั้น เก็บที่เหลือแบบยังไม่ทอด  ใส่ถุง ใส่ตู้เย็น ทานที่ทอดที่ กรอบอร่อยไม่มีกลิ่นหืน

ที่มา  :  http://th.wikipedia.org/wiki/แคบหมู
              http://9leang.com/?p=6041

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปลาท่องโก๋


         ปาท่องโก๋ (จีน白糖糕) เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสองชิ้นประกบกันแล้วทอด นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า โดยทานคู่กับกาแฟโกโก้น้ำเต้าหู้ หรือ โจ๊ก


สูตรการทำปาท่องโก๋คู่ กรอบ,นุ่ม 


ส่วนผสมที่ต้องใช้

1.แป้งสาลี อเนกประสงค์(ตราฮกแดง) 1/2 ก.ก.
2.น้ำสะอาด (3+1/2 ขีด) หรือ 350 กรัม
3.เกลือป่น 1 ช.ต.
4.น้ำตาลทราย 1 ช.ต.
5.แอมโมเนียไบคาร์บอเนทล์ 2 ช.ช.
6.โซดา ไบคาร์บอเนทล์(โซดาเย็น) 1/4 ช.ช.
7.ผงฟู (สูตรดับเบิ้ลฯ) 1 ช.ช.
8.ยีสต์แห้งฯ 1/4 ช.ช.
9.น้ำมันพืชฯ 1 ช.ต.
(สูตรหมักแป้ง 2-3 ชั่วโมง จึงนำมาทอดได้ครับ )

วิธีการทำ

1.เตรียม แป้งสาลี 1/2 ก.ก. + ผสมเข้ากันกับ( โซดา,+ผงฟู,+ยีสต์แห้ง) เข้าด้วยกัน พักใว้
2. ส่วนน้ำ,ใส่ส่วนผสม+เกลื่อป่น+แอมโมเนียฯ+น้ำตาลทราย+น้ำมันพืช ผสมให้เข้ากันคนจนละลาย
3.(ให้นำส่วนของแป้ง,และ ส่วนของน้ำที่เตรียมใว้ นำมาผสมให้เข้ากัน )โดยการคลุกเดล้า หรือการนวดเบาๆ
(ห้ามนวดแป้งแรงเกินไป หรือการขยำแป้งจนออกตามร่องมือ )
ให้ใช้การผสมแค่พอแป้งกับน้ำเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เนื้อแป้งยิ่งหยาบ ยิ่งดี แล้วหมักแป้งทิ้งใว้ 2-3 ชั่วโมง (นำมาทอดได้ตามขั้นตอน)
(ส่วนน้ำมัน ที่เราใช้ทอด ให้ใช้เป็นน้ำมันปามล์ทั่วไป เพราะจะทนความร้อนได้ดีกว่า )
แต่ถ้าจะให้ปาท่องโก๋ออกมาเหลืองสวยโดยทั่วไป ให้เรานำเอาน้ำมันที่ใช้แล้ว มาผสมลงไปด้วย จะทำให้ปาท่องโก๋เหลืองสวยมากยิ่งขึ้น



ที่มา  :  http://th.wikipedia.org/wiki/ปาท่องโก๋
           http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=058c486c287ed98d

ซาลาเปา


ซาลาเปา (จีน: 包子, พินอิน: bāozi เปาจื่อ) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "ชื่อขนมชนิดหนึ่งของจีน ทำด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม"
ซาลาเปาเป็นอาหารจีนชนิดหนึ่งทำมาจากแป้งสาลีและยีสต์ และนำมาผ่านขบวนการนึ่ง ซาลาเปาจะมีไส้อยู่ภายในโดยอาจจะเป็นเนื้อหรือผัก ซาลาเปาที่นิยมนำมารับประทานได้แก่ ซาลาเปาไส้หมู และ ซาลาเปาไส้ครีม สำหรับอาหารที่มีลักษณะคล้ายซาลาเปา ที่ไม่มีไส้จะเรียกว่า หมั่นโถว นอกจากนี้ซาลาเปายังคงเป็นส่วนหนึ่งในชุดอาหารติ่มซำ ในวัฒนธรรมจีน ซาลาเปาสามารถนำมารับประทานได้ในทุกมื้ออาหาร ซึ่งนิยมมากในมื้ออาหารเช้า
ซาลาเปาได้ชื่อว่าได้รับการคิดค้นขึ้นมาโดย จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่อจูกัดเหลียงกลับจากการต่อสู้กับเบ้งเฮ็กแล้วก็เดินทางมากถึงแม่น้ำแห่งหนึ่งที่คนแถวนั้นเชื่อว่ามีวิญญาณสิงอยู่ใต้น้ำ ทหารบอกจูกัดเหลียงว่า ถ้าจะข้ามฟาก ต้องตัดหัวทหารทั้งหมดเพื่อบูชาดวงวิญญาณ แต่จูกัดเหลียงไม่อยากให้ทหารต้องตายจึงคิดการทำหมั่นโถวขึ้นมา แล้วปล่อยให้ลอยตามน้ำเพื่อบูชาดวงวิญญาณ เมื่อบูชาแล้ว จูกัดเหลียงก็พาทหารข้ามสะพานไปยังพระนครเซงโต๋
ในภาษาอังกฤษเรียกซาลาเปาว่า "Chinese bun" ถ้ารู้ไส้ก็เรียกตามไส้ เช่น "pork bun" คือ ซาลาเปาไส้หมู

วัตถุดิบในการทำซาลาเปาใส้หมูสับ

1. แป้งเค้กบัวแดง 375 กรัม หรือ 4 ถ้วยตวง
2. น้ำตาลทราย  10 กรัม หรือ      1 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำเปล่า  200 กรัม หรือ            1 ถ้วยตวง
4. ยีส                                              1 ชต.
5. ผงฟู                                            1 ชต.
6. เกลือ                                          1/2 ชช.
7. ไข่ไก่                                         1 ฟอง
8. เนยขาว                                      4 ชต.
9. น้ำมันพืช                                    4 ชต.
10. หมูสับ                                      2.5 กก.
11. น้ำมันหอย                               5 ชต.
12. ซีอิ้วขาว                                   5 ชต.
13. ซอสปรุงรส                             5 ชต.
14. มันแกว                                    1 กก.
15. เกลือและพริกไทยอย่างละ  2 ชช.
16. หอมและกระเทียมอย่างละ  2 ชช.

วิธีทำใส้หมูสับ

1. นำหมูสับมาใส่ในกะละมัง ตามด้วยใส่ น้ำตาลทราย , ซอสปรุงรส ,ผงปรุงรส,พริกไทย ,แป้งมัน และตอกใส่ไข่ไก่ 1 ฟอง นวดส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน
2. จะใส่ส่วนผสมที่เหลือ มันแกว และ ต้นหอมซอย ลงไป เคล้าให้เข้ากัน นำไปหมักพักทั้งไว้ 1 ชั่วโมง

วิธีทำแป้งซาลาเปา

1. นำส่วนผสมมาผสมในกะละมัง มีน้ำตาลทราย ,ยีสต์ ,เกลือ,ผงฟู,น้ำเปล่า คนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน
2. เทแป้งอเนคประสงค์พอประมาณลงกะละมังใหญ่ แล้วเทส่วนผสมทั้งหมดที่คนเข้ากันแล้วมาเทลงแป้ง จากนั้นก็นวดแป้งให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้ว ค่อย ๆเติมแป้งอเนคประสงค์ ทั้งหมดนวดให้เข้ากัน จนเป็นเนื้อนุ่ม และ จากนั้นพักแป้งทิ้งไว้ให้ขึ้นฟู จึงค่อยนำไปใส่ไส้ได้
3. ก่อนที่จะห่อ ให้นวดไล่ฟองอากาศออกด้วย จับแป้งขั้นมาปั้นเป็นกลม ๆ กดให้แบนเป็นกลม ๆ ตักไส้หมูสับวางลงบนแป้งห่อ แล้ว จับจีบ หมุนซาลาเปาไปรอบ ๆ เพื่อให้ได้รูปที่กลมสวยงาม แล้ววางลงบนกระดาษรองก้นซาลาเปา
6. นำซาลาเปาวางเรียงบนซึ้งนึ่ง และนำไปนึ่ง 20 นาที ก็จะได้ซาลาเปาที่ออกมาน่ารับประทาน เพื่อง่ายต่อการจำไส้ต่าง ๆ ก็แต้มสีลงบนซาลาเปา เพื่อให้รู้ว่าเป็นไส้อะไรตอนนำไปขาย

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ซาลาเปา
         http://ohomakemoney.com

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรงเรียนสามมัคคีวิทยาคม  2
อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงราย

ประวัติโรงเรียน

               โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นลำดับที่ 39 ของจังหวัดเชียงรายของกรมสามัญศึกษา ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1121 กิโลเมตรที่ 4 – 5 เส้นทางสายเชียงราย – ดงมะดะ มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 393 หมู่ที่ 1 ถนนเชียงราย – ดงมะดะ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 
          ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นฌาปนสถานประจำหมู่บ้านหัวฝาย พ่อหลวงจวน ไชยชมภู ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นมีแนวความคิดที่จะพัฒนาหมู่บ้าน เนื่องด้วยในขณะนั้นหมู่บ้านยังไม่มีความเจริญ เส้นทางคมนาคมยากลำบาก จึงมีความเห็นที่อยากจะให้หน่วยงานทางราชการเข้าไปตั้งสถานที่ราชการในหมู่บ้านเพื่อที่จะทำให้หมู่บ้านเจริญขึ้น จึงขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ในสมัยที่ท่านผู้อำนวยการ บรรจง พงศ์ศาสตร์(อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา)เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมอบหมายให้ อาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ หัวหน้าหมวดเกษตรกรรมศิลป์ ได้ดำเนินการประสานงานกับพ่อหลวงจวน ไชยชมภู และจัดหางบประมาณ โดยคณะครู – อาจารย์และนักเรียนได้จัดกิจกรรมต่างๆ หาเงินซื้อที่ดิน จนครบ 40,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อซื้อที่ดินและมีโครงการใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นไร่ฝึกเกษตรของโรงเรียน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 อาจารย์บรรจง พงศ์ศาสตร์ ได้ย้ายไปรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่และในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นอาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ ได้โอนย้ายไปรับราชการในสำนักงานปฏิรูปที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารโรงเรียนในยุคต่อมาเห็นว่าการเดินทางไป–กลับของนักเรียนเพื่อปฏิบัติงานที่ไร่ฝึกเกษตรยากลำบาก ดังนั้นจึงได้ระงับโครงการไร่ฝึกเกษตรดังกล่าว ที่ดินแปลงนี้จึงถูกทิ้งรกร้างอีกระยะหนึ่ง
           ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการประสิทธิ์ แสนไชย ได้พัฒนาไร่ฝึกเกษตรอีกครั้ง โดยปลี่ยนแปลงเป็นสวนป่าโรงเรียนจึงได้รับมอบหมายให้หมวดวิชาเกษตรกรรมประสานงานตามโครงการ และให้ครู – อาจารย์และนักเรียนร่วมกันปลูกไม้ยืนต้น ต่อมาในสมัยที่ผู้อำนวยการบุญส่ง ไชยลาม (2532 – 2536) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนโยบายที่จะใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นสถานที่ฝึกอบรมของโรงเรียนแต่โครงการดังกล่าวไม่บรรลุผล อาจารย์เฉลิมชัย รัตนประยูร ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ได้ตระหนักถึงการขยายตัวทางการศึกษาของจังหวัดเชียงรายในอนาคต ตลอดจนความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมในขณะนั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่ทางโรงเรียนจะรับได้ ประกอบกับที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินจัดซื้อจากวิสัยทัศน์ของท่านอธิบดีบรรจง พงศ์ศาสตร์ และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ดังที่คาดหวัง จึงได้ปรึกษากับผู้ใหญ่ในกรมสามัญศึกษาจึงได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนโดยให้ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2” เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536
         ในปีการศึกษา 2537 โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนจำนวน 103 คน โดยมีนายสงัด มิตกิตติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นคนแรก ดำเนินการรับสมัครนักเรียน 
         วันที่ 13 พฤษภาคม 2537 – 30 กันยายน 2544 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้ง นางพาณี จินดา-วงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 
         วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 – 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 นายทวีศักดิ์ พิพัฒน์ขจรศักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 
         วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายอุทิศ สิทธิยศสมบัติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
         วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2549 – พ.ศ. 2552 นายพานทอง วังเค็ม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
         วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2552 – 10 พ.ย. 2554 นางสาวศุภวัลย์ คำวัง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2. 
         วันที่  11 พ.ย. พ.ศ. 2554   - ปัจจุบัน  นายส่งศักดิ์  เทพดวงแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2.



เอกลักษณ์สถานศึกษา

“ โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม”

อัตลักษณ์ของผู้เรียน

“ นักเรียนเป็นผู้ที่มีจิตอาสา”



 คติธรรมประจำโรงเรียน
 
พลํ สํง ฆฺส ส สามฺค คี     “สามัคคี คือ พลัง

ปรัชญาของโรงเรียน
“เน้นคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม” 




วิสัยทัศน์
         โรงเรียนแห่งคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม สู่มาตรฐานสากลและประชาคมอาเซียน

พันธกิจ
          1.      พัฒนาผู้เรียนในมีคุณธรรมโดยน้อมนำตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงและสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
2.     ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สู่มาตรฐานสากล
3.      ประสานสัมพันธ์กับชุมชนและองค์กรภายนอกเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาสังคม
4.      พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ
5.      พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
6.      ส่งเสริม ปลูกฝังจิตสำนึกของผู้เรียนให้ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมล้านนา

เป้าประสงค์
           นักเรียนโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม2 มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา มีจิตสำนึกตระหนักในคุณค่าศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อย่างมีความสุขโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา
1.      กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้
2.       กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน
3.       กลยุทธ์พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.       กลยุทธ์ปรับปรุงระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
5.       กลยุทธ์พัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
6.       กลยุทธ์พัฒนาบุคลากรมืออาชีพ


เครื่องหมายประจำโรงเรียน


      

               -  ห่วงกลม 6 ห่วง ประกอบด้วยสี 3 สี หมายถึง

           - สีประจำโรงเรียน คือ น้ำเงิน ขาว แสด เกาะเกลียวกันเป็นลูกโซ่อย่างเหนียวแน่น มั่นคง  เปรียบเสมือนความสามัคคีกลมเกลียวแน่นแฟ้น

           - รอบ ๆ ห่วง 6 ห่วง จะเปล่งประกายออกเป็นรัศมีทองแสด รวมทั้งหมด 39 แฉกหมายถึง   เป็นโรงเรียนมัธยมโรงที่ 39 ของจังหวัดเชียงราย

            - ตัวอักษรภาษาบาลี หมายถึง คติธรรมประจำโรงเรียน

            - ใต้ตัวอักษรบาลี  คือ  ปีพุทธศักราชที่ก่อตั้งโรงเรียน

สีประจำโรงเรียน
          น้ำเงิน : ขาว : แสด 

ต้นไม้ประจำโรงเรียน
           ต้นอินทนิล


ที่มา  :  swk2.ac.th